當前位置

首頁 > 語言學習 > 泰語學習 > 泰緬這對“世仇” 古時戰爭不斷的它們竟然也是相愛相殺?

泰緬這對“世仇” 古時戰爭不斷的它們竟然也是相愛相殺?

推薦人: 來源: 閱讀: 1.58W 次

從歷史上來講,泰國和緬甸絕對是一對相殺的夥伴,大大小小的戰爭發生過無數次,相信大家在學習歷史的時候一定有所耳聞。但是今天我們將帶大家從一個新奇的角度來看發生在泰國和緬甸之間的戰爭,看看戰爭對於泰國究竟有什麼“好處”?

padding-bottom: 75%;">泰緬這對“世仇” 古時戰爭不斷的它們竟然也是相愛相殺?

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับพม่าในเชิงคู่สงครามเป็นที่เข้าใจว่าพม่าสร้างความเสียหายต่อไทยเหลือคณา อย่างไรก็ตาม ในมุมมองของนักวิชาการที่มองผลกระทบจากสงครามกับพม่าที่มีต่อเสถียรภาพของอยุธยา หากมองอีกด้านก็ส่งผลต่อเสถียรภาพทางการเมืองในอยุธยาไม่น้อย
大家都知道,泰國和緬甸 之間的戰爭關係未泰國帶來了巨大的損失,這些都是學者們從泰緬戰爭對於阿瑜陀耶王朝穩定的角度得出的結論,但如果從另一個角度來看,戰爭也未阿瑜陀耶的政治帶來了不少穩定。

สงครามช้างเผือกเมื่อ พ.ศ. 2106 ก่อนหน้าการเสียกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 2112 ในช่วงอยุธยาตอนกลาง แตกต่างจากสภาพของสงครามครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ. 2310 กรมพระยาดำรงราชานุภาพอรรถาธิบายในหนังสือ “ไทยรบพม่า” เปรียบเทียบการเสียกรุงทั้งสองครั้งว่า การเสียกรุงครั้งแรก พม่ากวาดต้อนทรัพย์สินและเชลยศึกกลับกรุงหงสาวดีจำนวนมาก แต่ไม่ได้ทำลายพระนครยับเยินเหมือนครั้งหลัง เมื่อพิจารณาเหตุผลจากพระเจ้าหงสาวดี (บุเรงนอง) ซึ่งมาทำสงครามหมายมาเอาเมืองไทยเป็นเมืองขึ้น จับเชลยริบทรัพย์สินตามประเพณีสงคราม และปรารถนาปกครองบ้านเมือง
1563年的白象之戰,1569年阿瑜陀耶中期的情況與1767年的被佔領時有所不同,丹龍·拉差努帕在《泰緬戰爭》一書中對兩次被佔領做出了比較,第一次被佔領後,緬甸捲走了大量財富和戰俘回到了勃固城,但是沒有對阿瑜陀耶進行破壞,緬甸王勃印曩爲了將泰國變爲屬國而發起戰爭,按照戰爭的傳統掠奪戰俘和財富,希望統治他國。

แต่สำหรับครั้งหลัง พระเจ้าอังวะ (พระเจ้าเซงพยูเซง หรือมังระ) ให้กองทัพยกมากวาดต้อนทรัพย์สินและเชลยศึกโดยไม่ได้หวังรักษาเมืองไทยเป็นเมืองขึ้น ตีเมืองไหนได้ก็เผาหมด ไม่ว่าจะเมืองเล็กหรือใหญ่ ความเสียหายจึงมากกว่าครั้งเสียกรุงสมัยพระเจ้าหงสาวดี
第二次的時候,緬 甸王辛標信派軍隊掠奪戰俘和財富,但是並不想佔領泰國爲屬國,打到哪裏燒到哪裏,不管城池的大小,損失於是就要比第一次失守還要大。

ศ.ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ แสดงความคิดเห็นในหนังสือ “พม่ารบไทย ว่าด้วยการสงครามระหว่างไทยกับพม่า” ว่า สงครามกับพม่าในปี พ.ศ. 2106 และ 2112 ในรัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ส่งผลเชิงบวกต่อเสถียรภาพการเมืองภายในอยุธยา เมื่อดูจากหลักฐานในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา และบันทึกจากต่างชาติซึ่งมีทิศทางเนื้อหาสอดคล้องกันว่า ช่วงหลังการปฏิรูปการปกครองของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. 1991-2031) กลุ่มผู้นำทางการเมืองอยุธยายังชิงอำนาจทางการเมืองกันหลายครั้ง อาทิ กรณีเจ้าอ้าย เจ้ายี่ เจ้าสามพระยา กรณีขุนวรวงศาหรือขุนชินราช และยังมีความขัดแย้งภายในระหว่างราชินิกูลของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิกับสมเด็จพระมหาธรรมราชา ที่ดำเนินเรื่อยมาตั้งแต่ พ.ศ. 2106 มายุติลงเมื่อ พ.ศ. 2112
Sunait Chutintaranond教授在《緬泰戰爭》一書中闡明瞭自己的觀點:“瑪哈·查克拉帕在位時期1563年和1569年與緬甸的戰爭爲阿瑜陀耶的政治帶來了穩定,可以從阿瑜陀耶的史記與國外的記載看出,這些記載的內容都指出,在波隆摩·戴萊洛迦納(1448年-1488年)改革後期,發生了多次權力爭奪戰,還發生了王后家族與瑪哈·探瑪拉差一世爭奪權力的事件,從1563年一直延續到1569年。”

ท่ามกลางการต่อสู้แย่งชิงอำนาจในผู้นำการเมืองชั้นสูง บทบาทของขุนนางชั้นผู้ใหญ่ก็เข้ามาเกี่ยวข้องกันมากมาย ครั้นสงครามกับพม่าเมื่อ พ.ศ. 2112 ผู้นำทางการเมืองสายสุพรรณบุรีถูกขจัดไปในสถานการณ์สงครามระหว่างไทย-พม่า
在充斥着上層權 力爭奪的氛圍中,官僚貴族越來越多的被牽扯進來,當1569年戰爭發生後,素攀武裏一支的政治勢力在與緬甸的戰爭中成功被消除。

พระราเมศวร ถูกพม่านำตัวไปในสงคราม พ.ศ. 2106
1563年納黎軒被 緬甸控制
สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ สวรรคตก่อนเสียกรุงไม่นาน
瑪哈·查克拉帕在都 城被佔領後不久駕崩
สมเด็จพระมหินทร์ สิ้นพระชนม์ระหว่างทางขณะถูกพม่านำตัวไป
瑪欣他拉提拉在 被緬甸挾持的途中身亡

สถานการณ์ทำให้ผู้นำสายสุโขทัย ตามการเรียกขานของนักประวัติศาสตร์ขึ้นมามีอำนาจภายใต้การนำของสมเด็จพระมหาธรรมราชา ขณะที่ขุนนางผู้ใหญ่ที่สนับสนุนสายสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ถูกถอนรากตามไปด้วย อาทิ ออกญาราม ออกญาจักรี ทำให้พระมหาธรรมราชาสามารถแต่งตั้งคนของฝ่ายตนรั้งตำแหน่งสำคัญ
當時的狀況讓素可泰一支的實力,歷史學家認爲他們處於瑪哈·探瑪拉差一世的統治之下,同時支持瑪哈·查克拉帕的勢力也被清除,這可以讓瑪哈·探瑪拉差一世能夠成功建立 自己一邊的權勢範圍。

ความเปลี่ยนแปลงทางเสถียรภาพส่งผลเชิงประจักษ์ เมื่ออยุธยาต้านรับการรุกรานของราชอาณาจักรกัมพูชาหลายครั้ง ตั้งแต่ พ.ศ. 2113-2114, 2121, 2125 และ 2130 การวางรากฐานของสมเด็จพระมหาธรรมราชามาจนถึงสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทำให้ราชการสงครามในระยะต้นมีผลสำเร็จ
政治上的穩定帶來了實質的好處,當阿瑜陀耶經受住了從1570-1571,1578, 1582, 1587年多次柬埔寨的侵犯之後,瑪哈·探瑪拉差一世的統治延續到了納黎軒大帝,讓 戰爭在初期取得了勝利的果實。

แต่สำหรับการเสียกรุงครั้ง พ.ศ. 2310 แตกต่างกันเนื่องจากพม่าทำลายพระนครและรากฐานอย่างยับเยินอันเป็นผลให้ผู้นำชั้นสูงของไทยเปลี่ยนทัศนะและนโยบายทางทหารต่อพม่า ปรับยุทธศาสตร์ตั้งรับศึกพม่า พยายามยึดครองพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญที่พม่าเคยใช้เป็นฐานกำลังเมื่อครั้งเสียกรุงก่อนหน้านี้
但是在1767年阿瑜陀耶失守之後情況不同,因爲緬甸王破壞了城池,這讓泰國王改變了對緬甸的軍事看法及政策,採取了新的戰略戰術,緬甸在佔領城池之前就已經控制了重要的戰略要地作爲軍事基地。

สถานภาพของกษัตริย์ถูกขับเน้นออกมาในเชิง “ผู้ปกป้อง” ไม่ว่าสถานะนี้จะคงอยู่มาแต่เดิมก่อนการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ นักวิชาการไทยมองว่า สงครามและการเสียกรุงครั้งหลังผลักดันให้ผู้นำไทยสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้นต้องแสดงพระองค์พร้อมประกาศเจตนารมณ์อย่างแน่ชัดในอันที่จะทำสงครามต่อต้านพม่าผู้รุกราน
國王被從統治 者的位置趕下去,不管這一角色曾經延續多久,泰國的歷史學者認爲,戰爭和城池的失守讓泰國在吞武裏王朝和曼谷王朝初期的統治者必須清楚地突出自身並且表達抗擊緬甸侵略者的願望。

อย่างไรก็ตาม ศ.ดร. สุเนตร ระบุว่า ผลสืบเนื่องที่ตามมาจาก “การปกป้อง” ผู้รุกราน นำมาสู่การพยายามตอกย้ำและสร้างภาพพม่าผู้รุกรานในลักษณะฝ่ายอธรรมและมารพระศาสนา พงศาวดารกรุงศรีอยุธยาที่ชำระในสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้นยุคหลังกรุงแตกพาดพิงพม่าในแง่ตัวแทนความชั่วร้ายหลายรูปแบบ
無論如何 ,Sunait教授提到,根據侵略帶來的結果和將緬甸視爲侵略者的情況,在吞武裏王朝和曼谷王朝初期整理的阿瑜陀耶王朝史記中將緬甸視爲了多種邪惡的代表。

ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นผลสืบเนื่องในสังคมต่อกันมาหลายยุคสมัย ไม่ว่าจะในฐานะเครื่องมือการเมือง หรือการสร้างสำนึกหรือความเข้าใจบางอย่าง แม้รัฐบาลหรือคนในสังคมเริ่มตระหรักถึงความจำเป็นในการรักษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในยุคสมัยปัจจุบัน แต่นักวิชาการหลายท่านยังมองว่า ในทางปฏิบัติแล้วกลับไม่ได้สะท้อนถึงความตระหนักนั้นมากนัก
這種現象是從很多個時代延續下來的,不管是統治的工具或者還是爲了激發某種意識,雖然現代人深知需要維護好當代兩國的友好關係,但是很多學者仍然認爲,在實際層面並沒有反映出多少這種意識。

 

聲明:本文由滬江泰語編譯整理,素材來自silpa-mag,未經允許不得轉載。如有不妥,敬請指正。