當前位置

首頁 > 語言學習 > 泰語學習 > 全方位解讀泰國 你瞭解泰國“大姨媽巾”的故事?

全方位解讀泰國 你瞭解泰國“大姨媽巾”的故事?

推薦人: 來源: 閱讀: 3.63K 次

每個女同胞每個月最最不舒服的要數“大姨媽”來問候的時候了吧!舒適的衛生巾應該是必備的東西,不知道大家對衛生巾有多少了解呢?其實衛生巾可不是古就有之的,大家知道泰國女生是什麼時候開始用的呢?今天就來帶大家瞭解一下。


ช่วงปลายปี 2562 ประเทศไทยตกอยู่ในกระแสข้อถกเถียงเรื่องเก็บภาษีผ้าอนามัย หากเอ่ยถึงภาษีผ้าอนามัย ลองไปค้นข้อมูลพบว่า ปัจจุบันหลายประเทศอย่างออสเตรเลีย แคนาดา และอินเดีย ฯลฯ ยกเลิกเก็บภาษีผ้าอนามัยไปแล้ว โดยประเทศแรกที่มีการยกเลิกการเก็บภาษีผ้าอนามัยได้แก่ ประเทศเคนยา ยกเลิกการเก็บภาษีเมื่อปี 2547
2019年年末,泰國陷入了對衛生巾稅徵收的熱議中。如果說到衛生巾稅,去搜一下就知道,像澳大利亞、加拿大、印度等等的國家都取消衛生巾稅了,第一個取消衛生 巾稅的國家就是肯尼亞,在2004年取消了衛生巾稅。


หากย้อนไปไกลกว่าขั้นตอนยกเลิกภาษี แล้ว “ในวันนั้นของเดือน” ผู้หญิงไทยเราใช้ผ้าอนามัยเมื่อใด
回到比免 稅更早的階段,在每個月的那幾天,泰國的女性是什麼時候開始使用衛生巾的?


เอนก นาวิกมูล เขียนไว้ “แรกมีในสยาม ภาค 1” สันนิษฐานว่า น่าจะเข้ามาประเทศไทยในช่วงปลายรัชกาลที่ 6 ต้นรัชกาลที่ 7
Anek Nawikmul在《最早在暹羅出現的1》介紹到,可能是在拉瑪六世末期拉瑪七世初期被引進泰國的。

เมื่อเริ่มมีผ้าอนามัยแบบสำเร็จรูป เรียกว่า “ผ้าซับระดู” จำหน่ายในราคาโหลละ 3 บาท ซึ่งมีหลักฐานเก่าแก่สุดที่พบเป็นโฆษณาขายผ้าซับระตู หรือผ้าซับระดูในหนังสือ “ข่ายเพ็ชร์” ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม ปี 2468 ของร้านประเสริฐโอสถ ถนนบ้านหม้อ พระนคร ความว่า
在剛剛出現成型的衛生巾時,它被叫做“ผ้าซับระดู”(直譯:吸月經的布),售賣價格是一打3泰銖,最早的證據是在1925年1月14日週四第2期第1年的《Khai Phet》報紙 上登印了衛生巾廣告,廣告來自Phra Nahorn區Ban Mo街Prasoet Orot商場,內容是:

“ถูกกว่าห้างฝรั่ง ผ้าซับระดูซึ่งซื้อขายกันที่ห้างฝรั่งเป็นราคาโหล 1 ตั้ง 3 บาทนั้น ถ้าท่านไปซื้อที่ “ประเสริฐโอสถ” จะได้ถูกกว่าห้างฝรั่งตั้งครึ่งตัว รับรองได้ว่าเป็นของดีเท่าทั้นกับห้างฝรั่งเหมือนกัน ด้วยเหตุนั้น คนไทยควรจะไม่ลืมร้านของไทยเสียเลยมิใช่ฤา?…”
“比老外商場賣得便宜 ,老外商場衛生巾的價格是1打3泰銖,如果您在Prasoet Orot商場賣,會比在老外那裏買的便宜一半,保證和他們賣的品質一樣,泰國人是不是不應該忘記泰國人自己的商場?”

ต่อมาปี 2485 ผ้าอนามัยยี่ห้อ โกเต๊กซ์ (Kotex) ของบริษัทคิมเบอร์ลี่ย์-คล๊าค ซึ่งเป็นผ้าอนามัยที่มีห่วงคล้องกับเอว และมีตะขอเกี่ยวอยู่ด้านหลัง แม้จะมีขนาดและวิธีใช้จะไม่สะดวกสบายเท่าปัจจุบัน แต่ในยุคนั้นก็นับว่าสะดวกสบายมากทีเดียว
後來1942年,出 現了Kimberly Clark公司的Kotex牌衛生巾,這是一種環繞在腰上、後面有掛鉤的衛生巾,雖然使用方法和尺寸不像今天那麼便捷,但是在當時的時代已經算是非常方便了。

全方位解讀泰國 你瞭解泰國“大姨媽巾”的故事?

(圖源:tvpoolonline)

ในระยะแรกแพร่หลายเพียงในกลุ่มสตรีชั้นสูงที่อยู่ในเมืองเท่านั้น เพราะการใช้ผ้าอนามัยแบบใช้แล้วทิ้งออกจะฟุ่มเฟื่อยเมื่อเทียบกับการใช้ผ้าประจำเดือนที่ใช้แล้วซักทำความสะอาด
剛開始只 是在城市裏居住的社會地位較高的女性中流行,因爲和以前使用過拿去清洗之後再重複使用的衛生布不同,這種用過之後就扔掉的衛生巾看起來有些浪費。

แต่ผ้าอนามัยยี่ห้อโกเต็กซ์ได้รับความนิยมในเวลาต่อมา จนเรียกผ้าอนามัยทั่วไปว่า “โกเต๊กซ์” กันอยู่พักใหญ่
但是Kotex衛 生巾在後來非常流行,很長一段時間都把衛生巾叫做Kotex。

หากการแข่งขันในตลาดผ้าอนามัยรุนแรงมากขึ้น ในปี 2511 เริ่มมีการตั้งโรงงานผลิตภายในประเทศและเกิดยี่ห้อใหม่อย่าง เซลล๊อกซ์ ที่ออกผลิตภัณฑ์ใหม่คือ ผ้าอนามัยแถบปลาย ที่แม้จะยังต้องใช้สายคาด แต่ก็ตอบโจทย์เรื่องการแต่งตัวได้มากขึ้น
後來衛生巾市場的競爭越來越激烈,1968年在泰國國內建立了生產製造工廠,還出現了Cellox這個新品牌以及新式的衛生巾,即尖形衛生巾,雖然還需要用綁帶,但是在穿 戴方面更加方便了。

全方位解讀泰國 你瞭解泰國“大姨媽巾”的故事? 第2張

(圖源:kaidee)

ปี 2515 ผ้าอนามัยแบบแถบกาวเกิดขึ้นด้วยความบังเอิญ เนื่องจากผู้ผลิตสั่งเครื่องจักรผิดแบบ ความสะดวกของผ้าอนามัยแบบแถบกาว ทำให้ผ้าอนามัยแบบห่วง และแบบแถบปลายมีขนาดตลาดที่เล็กลงและเลิกผลิตไปในที่สุด
1972年,粘貼式衛生巾的誕生是由生產商採購了錯誤的製造機器進行生產偶然被髮明,粘貼式衛生巾的便捷讓圓圈式和尖型衛生巾的市場越來越小,最終不再生產。

ต่อมา ผ้าอนามัยก็มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์มากขึ้นเรื่อย ไม่ว่าจะเป็นแบบมินิ, แบบทีนเอจ ฯลฯ โดยรวมคือมีขนาดที่เล็กและบางลง ตลอดจนความเหมาะสมกับการใช้งานในวันมามากมาน้อย เพื่อให้เกิดความสะดวกและตอบสนองกับแฟชั่นและการใส่เสื้อผ้าที่รัดรูป รวมถึงการพกพาเมื่อผู้หญิงต้องออกจากบ้านมากขึ้น ตามบทบาทในสังคม เช่น ไปทำงาน,เรียนหนังสือ ฯลฯ
後來,衛生巾的產品不斷髮展,出現了迷你型、少女型等等,規格越來越小,也越來越薄,越來越適用,也符合穿緊身衣時尚的需求,女性出門攜帶也更便捷,比如 外出工作、學習等等。

หลังปี 2526 ความเชี่ยวชาญในการผลิตเริ่มเปลี่ยนจากสหรัฐอเมริกา เริ่มมีคู่แข่งจากโลกตะวันออก อย่างประเทศญี่ปุ่น ซึ่งค้นพบเทคโนโลยีใหม่ในการผลิต คือ Polymer Gel ที่มีลักษณะเป็นเม็ดทรายละเอียด สามารถดูดซึมน้ำได้ดีหลายเท่าตัว ผ้าอนามัยก็บางลงเรื่อยจากความหนาเป็นเซ็นติเมตร ก็เหลือเพียงไม่กี่มิลลิเมตร ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้หญิงรุ่นใหม่
1983年後,從 美國開始了衛生巾生產的革新,也出現了來自東方國家的競爭對手,比如日本,發明了聚合凝膠物的技術,它的吸收技術比之前的種類優秀很多倍,衛生巾也越來越輕薄,從釐米只剩下幾毫米,很適合新時代女性的需求。

全方位解讀泰國 你瞭解泰國“大姨媽巾”的故事? 第3張

(圖源:視覺中國)

ปล. ในสหรัฐอเมริกา ศูนย์การค้าในชิคาโก เริ่มขายผลิตภัณฑ์ “ผ้าอนามัย” กล่องแรกเมื่อตุลาคม ปี ค.ศ. 1919 สภาพการขายในเวลานั้น ว่ากันว่า ค่อนข้างกระอักกระอ่วนระหว่างพนักงานขายที่เป็นบุรุษ ขณะที่ลูกค้าเป็นสตรี แต่ชื่อผลิตภัณฑ์ “Kotex” เป็นปัจจัยสำคัญที่แก้ไขปัญหานี้ โดยบริษัทผู้จำหน่ายสร้างแคมเปญโฆษณาที่เปลี่ยนแปลงมุมมอง “วันนั้นของเดือน” สำหรับผู้หญิงในช่วงยุค 20s
美國芝加哥的商 業中心在1919年10月生產出了第一盒衛生巾,當時對於男性售貨員來說,由他們賣衛生巾給女性顧客會感到非常難爲情,但是Kotex很好地解決了這個問題,公司爲20年代的女性打出了“每個月的那天”的廣告。

บริษัทใช้สโลแกนว่า “Ask for them by name” (หรือ “เรียกหาผลิตภัณฑ์ด้วยชื่อของมัน”) ผู้ศึกษาเรื่องการสื่อสารมวลชนมองว่า มันกลายเป็นสโลแกนสำคัญของบริษัท การเข้าไปซื้อโดยเรียกว่า “Kotex” ช่วยให้สุภาพสตรีไม่ต้องเอ่ยถึงเรื่องวันนั้นของเดือนในที่สาธารณะ โดยเฉพาะกับพนักงานขายที่เป็นบุรุษ
公司使用了“Ask for them by name”的標語,大衆傳媒專家認爲,這條標語成了公司的重要標語。當女性購買的時候說出Kotex的名字而不用在公共場合說出羞於說出的字眼,尤其是向男售貨員講的時候。


大家瞭解關於“衛生巾”的故事了嗎?

聲明:本文由滬江泰語編譯整理,素材來自silpa-mag,未經允許不得轉載。如有不妥,敬請指正。