當前位置

首頁 > 語言學習 > 泰語學習 > 全中國人民都會說的“薩瓦迪” 你知道它真正的來歷嗎?

全中國人民都會說的“薩瓦迪” 你知道它真正的來歷嗎?

推薦人: 來源: 閱讀: 6.74K 次

經過這些年學泰語的經歷,感覺全中國人人均都會說一句“薩瓦迪卡”,雖然有時候不標準,但足以證明這三個字在我們中國人中間的國民度。那你知道薩瓦迪是什麼意思嗎?泰國人是什麼時候開始互相薩瓦迪的嗎?爲什麼要薩瓦迪呢?今天我們就來爲你答疑解惑。

全中國人民都會說的“薩瓦迪” 你知道它真正的來歷嗎?

สวัสดี เป็นคําที่คนไทยใช้ทักทายกันในชีวิตประจําวันมากที่สุดคําหนึ่ง ยิ่งถึงเทศกาลขึ้นปีใหม่, คริสต์มาส, สงกรานต์ ก็ยิ่งใช้เปลืองมากขึ้นกว่าเดิมอีกหลายเท่า เพราะคนไทยมักจะทักทายกันด้วยวลีที่ว่า “สวัสดีปีใหม่, สวัสดีวันคริสต์มาส, สวัสดีวันสงกรานต์”
薩瓦迪是泰國 人日常生活中最爲常見的打招呼用語,尤其是到了新年、聖誕節或者宋幹節,聽到這個詞的頻次就更多了,因爲泰國人經常說:“新年薩瓦迪”、“聖誕節薩瓦迪”、“宋幹節薩瓦迪”。

 “สวัสดี” มาจากไหน?
“薩瓦 迪”是哪來的?

“เมื่อผมเพิ่งแตกเนื้อหนุ่มนั้น คําว่าสวัสดียังไม่มีใช้ในภาษาไทย…” พลตรี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เขียนเล่าไว้ในคอลัมน์ “ซอยสวนพูล” (หนังสือพิมพ์สยาม ฉบับวันศุกร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2534) อ้าว แล้วใครคิดคําว่า “สวัสดี” ขึ้นมาใช้ล่ะ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เขียนเล่าต่อไปว่า
“當我還年輕的時 候,‘薩瓦迪’這個詞在泰語裏還沒有…”克立巴莫在Soi Suan Phlu專欄(1991年3月15日週五《Siam》報紙)中寫到:誒?那誰發明了“薩瓦迪”這個詞呢?克立巴莫繼續寫到:

“พระยาอุปกิตศิลปสาร ผู้ซึ่งเป็นอาจารย์ในภาษาไทย ซึ่งมีลูกศิษย์ลูกหามากมายที่สุดคนหนึ่งได้บัญญัติศัพท์คำว่าสวัสดีนี้ขึ้นสำหรับให้คนไทยได้ใช้ในการทักทายเมื่อพบปะกัน ให้ใช้ได้เป็นคำทักเมื่อแรกพบและคำลาเมื่อจะจากกัน”
“Phraya Uppakijsilpasarn,一個弟子衆多的泰語老師,規定了泰國人在打招呼時要使用‘薩瓦迪’這個詞,可以在見面和分別時使用。”

จริงหรือที่ว่าพระยาอุปกิตศิลปสารคิดคำนี้ขึ้นใช้ในภาษาไทย ท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา ยืนยันไว้ในหนังสือสดุดีบุคคลสำคัญ (สำนักงานส่งเสริมเอกลักษณ์ของชาติ พิมพ์เผยแพร่ เมื่อ พ.ศ. 2528) ตอนหนึ่งว่า…
是不是真的是Phraya Uppakijsilpasarn在泰語裏發明了這個詞呢?Somrot Sawatdikun Na Ayutthaya夫人在《重要人物》(1985年國家形象促進委員會印刷 宣傳)一書中提到:

เมื่อ 47 ปีมาแล้ว นิสิตอักษรศาสตร์ปีที่ 1 และ 2 แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับจดหมายลาป่วยของลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2478 จากอาจารย์ภาษาไทยคนหนึ่ง จดหมายนั้นแจ้งว่า ท่านอาจารย์ผู้นั้นเสียใจจริงๆ ที่ไม่อาจมาสอนในวันสุดท้ายของภาคปลายปีนั้นได้ ทั้งที่ทราบว่าเป็นวันสำคัญที่สุดของปี เพราะถัดมาจากวันนั้นแล้ว มหาวิทยาลัยจะหยุดให้นิสิตดูหนังสือเตรียมตัวสอบไล่ประจำปี
47年前,朱拉隆功大學文學院一年級和二年級的學生收到了一封日期是1935年2月28日的教師請病假信,信件來自一位泰語老師,這封信指明,那位老師非常傷心,在學 年的最後一天不能夠來上課,這一天也是一年中最重要的一天,因爲過了這天之後,大學將會停課讓學生準備考試。

全中國人民都會說的“薩瓦迪” 你知道它真正的來歷嗎? 第2張

ข้อความในจดหมายที่อาจารย์ลาป่วยต่อลูกศิษย์เขียนมาเป็นข้อๆ ข้อที่ 2 มีใจความอันเป็นประวัติศาสตร์ที่คนไทยปัจจุบันพึงรู้พึงจำเพราะเป็นมรดกวัฒนธรรมทางประเพณีอันทันสมัยแก่คนไทยและชาติไทย ขอคัดมาดังนี้
這封老師的請假 信寫成了很多要點,第二點就成了泰國和泰國人應該銘記在心的有重要文化價值的一點,內容是:

“คำว่า ‘สวัสดี’ ที่ครูได้มอบไว้แต่ต้น โปรดจงโปรยคำอมฤตนี้ทุกครั้งเถิด จะใช้ ‘สวัสดี’ ห้วนๆ หรือ ‘สวัสดีขอรับ’ หรือ ‘สวัสดีขอรับคุณครู’ หรือจะเหยาะให้หวานว่า ‘สวัสดีขอรับคุณอาจารย์’ ครูเป็นปลื้มใจทั้งนั้น ถ้าสงเคราะห์ให้ได้รับความปิติยินดีแล้วเมื่อพบครูครั้งแรกไม่ว่าที่ไหนโปรดกล่าวคำนี้ ครูจะปลาบปลื้มเหลือเกิน ยิ่งเป็นที่อื่น เช่น ในกลางถนน บนรถราง ครูปลาบปลื้มเป็นทวีคูณ เพราะจะได้เป็นตัวอย่างแก่สาธารณชนชาวไทยทั่วไป เป็นความจริงนิสิตชายหญิงที่พบครูในที่ต่างๆ และกล่าวคำ ‘สวัสดี’ ทำให้ครูปลาบปลื้มจนต้องไปตรวจดูบัญชีชื่อว่าเป็นใครเสมอ
“老師最開始介紹的‘Sawatdee’這個詞,希望大家經常能使用這個詞,簡單地說‘Sawatdee’或‘Sawatdee Korap’或嘴甜點說‘Sawatdee 老師’等等,老師聽了都會很開心。不 管在哪裏相見的時候使用這個詞,老師都會十分欣喜,尤其是在一些像馬路上、電車上的地方,老師更會加倍的開心,因爲這樣可以爲泰國的普羅大衆作出榜樣,有很多男生女生用Sawatdee和老師打招呼,老師開心得都要打開花名冊去查一些這些同學的名字了。”

มีนิสิตหญิงผู้หนึ่ง เธอพบครูและกล่าวว่า ‘สวัสดีค่ะ’ แต่ครูไม่ได้ยิน เธอกล่าวอีกครั้งหนึ่งครูก็ไม่ได้ยิน แต่มีคนอื่นเขาเตือน ครูต้องวิ่งไปขอโทษ กว่าจะทันก็หอบครูจึงขอโทษไว้ก่อน คำอมฤตอันปลาบปลื้มที่สุดของครูนี้ ถ้าครูได้ยินก็จะตอบด้วยความยินดีเสมอ ที่ครูนิ่งไม่ตอบรับเป็นด้วยไม่ได้ยิน เพราะหูตาของครูเข้าเกณฑ์ชราภาพแล้วโปรดให้อภัยครู
“有一個女生,見到老師以後說‘Sawatdee Kha’,但是老師沒有聽到,她又說一了遍老師還是沒有聽到,但是其他人聽到了提醒老師,老師就跑過去道歉,在老師道歉的 時候,又再次一次聽到了這個悅耳的詞彙。如果老師能夠聽到這個詞的話會非常開心,有些時候沒有聽到不迴應,是因爲老師的耳朵不太靈光了,要原諒老師。”

ขอจงสอบได้ทุกคนเถิดนิสิตที่รักของครูทั้ง 2 ชั้น
希望兩個年級 的每位親愛的同學都能通過考試。

(ลงนาม) พระยาอุปกิตศิลปสาร
(簽名)Phraya Uppakijsilpasarn

ก็สรุปได้ว่า พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ) เป็นผู้คิดคำว่า ‘สวัสดี’ ขึ้นใช้ทักทายเมื่อพบปะกัน เมื่อแรกราว พ.ศ. 2477-2478 ได้มอบคำนี้ให้นิสิตอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใช้ทักทายครูก่อน หลังจากนั้นกรรมการชำระปทานุกรมและกรรมการโปรแกรมวิทยุกระจายเสียก็นำไปใช้ด้วย เป็นเหตุให้คำนี้แพร่หลายไปทั่วประเทศมาจนถึงทุกวันนี้ และคงจะสืบเนื่องต่อไปอีกนานเท่านาน
可以總結到,Phraya Uppakijsilpasarn是首個發明在打招呼時使用薩瓦迪的人,大約在1934-1935年之間,讓朱拉隆功大學文學院的學生先用這個詞來和老師打招呼,後來字典委員會和廣播委員會就也開始使用這個詞,時至今日,在全泰國範圍內使用,而且將會長久地使用下去。

全中國人民都會說的“薩瓦迪” 你知道它真正的來歷嗎? 第3張

ถามว่าพระยาอุปกิตศิลปสารคิดค้นเอาคำว่า ‘สวัสดี’ มาจากไหน? นายจำนงค์ ทองประเสริฐ ผู้เชี่ยวชาญด้านชำระพจนานุกรมของราชบัณฑิตยสถานอธิบายว่า…
那麼Phraya Uppakijsilpasarn是從哪裏選用的這個詞呢?皇家學術委員會字典專家Jamnong Thongprasoet解釋到:

“พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้เก็บคำว่า ‘สวัสดิ์’ และ ‘สวัสดี’ ไว้คู่กัน และให้ความหมายไว้ดังนี้ ‘น.ความดี, ความงาม, ความเจริญรุ่งเรือง : คำทักทายหรือพูดขึ้นเมื่อพบหรือจากกัน’ เป็นคำที่มาจากภาษาสันสกฤตว่า ‘สุ+อสฺติ’ แล้วแผลง อุ เป็น ว จึงเป็น ‘สฺวฺสฺติ’ ตรงกับภาษาบาลีว่า ‘โสตถิ’ ซึ่งมาจากสุ+อตฺถิ ทั้ง ‘อสฺถิ’ และ ‘อตฺถิ’ ล้วนแปลว่า ‘มี’ ทั้งนั้น สุ เป็นค่าอุปสรรค (prefix) แปลว่า ‘ดี, งาม, ง่าย’ ”
“1982年皇家學術委員會共同收錄了สวัสดิ์和สวัสดี兩個詞,釋義爲:‘名詞,美好,繁榮;見面或離別時的用語’,來自梵語,由‘สุ+อสฺติ(อัด-สะ-ติ)構成,後來อุ音變 成了ว,所以變成了สฺวฺสฺติ(สะ-วัด-สฺติ),和巴利語中的โสตถิ一詞對應,由สุ+อตฺถิ(อัด-ถิ)構成,อสฺถิ和อตฺถิ都是‘有’的意思,สุ是一個構詞前綴,翻譯成‘好的,美好的,簡單的’。”

เรื่อง “สวัสดี” นี้ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช อธิบายไว้อย่างลึกซึ้งว่า
關於薩瓦迪,克立巴 莫深入地解釋到:

“คำว่าสวัสดีที่ใช้กันในภาษาไทยนั้นเป็นภาษาสันสกฤตเขียนเป็นว่า สฺวสฺติ ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาฝรั่ง เพราะฉะนั้นคำนี้ถ้าถอดกลับเป็นอักษรโรมันเสียอีกทีหนึ่งเป็นคำว่า Svati ก็มีทางที่จะออกเสียงได้ถูกต้องมากที่สุด
“泰語中使用的 薩瓦迪這個詞來自梵語的สฺวสฺติ(สะ-วัด-สะ-ติ)一詞,梵語是印歐語,因此當把這個詞用羅馬字母音譯出來之後就是Svati,是最正確的發音。”

全中國人民都會說的“薩瓦迪” 你知道它真正的來歷嗎? 第4張

และคำเดียวกันนี้ก็มีอยู่ในภาษาบาลี ซึ่งคนไทยใช้มาในทางศาสนา เพราะภาษาบาลีเป็นภาษาของศาสนาพุทธซึ่งคนไทยนับถือทั่วไป
這個詞在巴 利語中也存在,泰國人在宗教中大量使用這種語言,因爲巴利語是泰國人都信奉的佛教的語言。

ในภาษาบาลีนั้น คำว่า สฺวสฺติ ในภาษาสันสกฤตกลายเป็นนคำว่า โสตฺถิ อันเป็นคำที่เราไม่ค่อยจะได้พบเห็นกัน
在巴利語中 ,梵語裏的สฺวสฺติ(สะ-วัด-สะ-ติ)變成了โสตฺถิ(โสด-ถิ),這個詞部門不太能夠看到。

อย่างไรก็ตาม ฮิตเลอร์ถือว่าคำนี้เป็นคำแห่งภาษาอริยกะ อันเป็นภาษาแห่งเผ่าชน ซึ่งฮิตเลอร์เลื่อมใส สนับสนุนส่งเสริมโดยไม่ลืมตา ด้วยเหตุนี้พรรคการเมืองของฮิตเลอร์ คือพรรคชาติสังคมนิยมจึงได้ถือเอาเครื่องหมายสวัสดิกะเป็นเครื่องหมายของพรรค เรียกได้ว่าเป็นมงคลนิมิต
無論如何, 希特勒認爲這個詞是雅利安語,是希特勒非常敬仰的山地民族,非常支持他們。正因爲如此,希特勒的政黨就將佛教中的萬字符卍(สวัสดิกะ)當作自己的標誌,認爲非常吉祥。

ดูประวัติความเป็นมาของคำว่า สวัสดิกะ หรือคำว่าสวัสดีตลอดจนเครื่องหมายของคำว่าสวัสดีแล้ว ก็จะเห็นได้ว่าสวัสดีนั้นมีความหมายแตกต่างกันมากมายเหลือเกิน ในบางครั้งสวัสดีก็หมายถึงเห่อเหิม บ้าอำนาจยกตนเป็นใหญ่กว่าผู้อื่น แต่อีกที่หนึ่ง สวัสดีนี้เองกลับกลายเป็นการสำรวมกาย สำรวมอินทรีย์และการละความชั่วได้ทั้งหมด
如果看萬字符的來歷或者薩瓦迪這個詞和薩瓦迪的符號,可以看到,薩瓦迪的含義和我們熟知的有很大的差別,有時薩瓦迪的意思是迷戀權勢,欺壓別人。另一方面, 薩瓦迪還有平心靜氣、謹言慎行和放棄一切邪惡的意思。

พูดง่ายๆ ถ้าสวัสดีนั้นใช้ภาษาบาลีว่า โสตฺถิแล้ว ความหมายของคำนี้เป็นไปในดีอย่างที่ได้ว่ามาแล้ว แต่ดูเหมือนว่าถ้าใช้รูปสันสกฤตแล้ว คำนี้ก็ยังแปลความว่ารุ่งโรจน์ ความเจริญ ความสุกสว่างอยู่นั่นเอง แต่ว่าดูเหมือนจะเป็นความเจริญความสุขต่างๆ ที่ได้มาด้วยอำนาจด้วยการใช้อำนาจ และด้วยความก้าวร้าวต่อผู้อื่น
簡單地說,如果薩瓦迪這個詞是巴利語的含義,那就是美好的含義,如果是梵語中的意思,這個詞就是繁榮、昌盛的意思,但是一種通過使用權威侵擾他人而獲得的 一種繁榮昌盛。

ผมเคยคิดอยู่ในใจหลายปีมาแล้วว่าคำว่า สวัสดี เมื่อเราเอามาใช้ก็น่าจะเอามาใช้ทั้งภาษาสันสกฤตและภาษาบาลี เป็นต้น ว่าผู้ที่กล่าวคําทักจะใช้คําว่าสวัสดี แต่ผู้ที่รับคําทักหรือกําลังจะลาจากไป ก็น่าจะใช้ภาษาบาลีว่า โสตฺถิ อย่างนี้จะเป็นการเพิ่มความร่ำรวยแห่งภาษาขึ้นได้หรือไม่ และจะเป็นการแฝงความหมายอีกเล็กๆ น้อยๆ ที่มีความสําคัญอย่างยิ่งเอาไว้ในคำทักทายของเราด้วยหรือไม่ ?”
我曾經想了好多年,薩瓦迪這個詞,我們借用來的可能是梵語和巴利語的兩種含義,打招呼的人說薩瓦迪,接受打招呼的人或者正要離開的人,可能用的是巴利語中的โสตฺถิ,這樣能不能讓我們的語言更加豐富呢?能不能給我們日常生活中常用的打招呼用語帶來一點點隱含義呢?

 

平平無奇的薩瓦迪,背後竟然也隱藏着這麼多不爲人知的歷史故事!

 

聲明:本文由滬江泰語編譯整理,素材來自silpa-mag,未經允許不得轉載。如有不妥,敬請指正。